การดูแลรักษานาฬิกา
การทำความสะอาดนาฬิกาข้อมือหลังการใช้งาน
โดยปกติแล้วนาฬิกาข้อมือที่ผ่านการใช้งานจะมีคราบเหงื่อ น้ำ หรือ สิ่งสกปรกอื่นสะสมอยู่ที่สายนาฬิกา และตัวเรื่อนนาฬิกา ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการผุกร่อน หรือเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ โดยเฉพาะตามข้อต่อระหว่างชิ้นส่วนต่างๆ เช่น ระหว่างตัวเรื่อนนาฬิกาและฝาหลัง หรือระหว่าข้อต่อของสายนาฬิกาดังนั้น หลังจากการใช้งานควรที่จะทำความสะอาดนาฬิกาด้วยวิธีการที่ถูกต้องเพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น
การทำความสะอาดตัวเรือนนาฬิกา
1. ควรล้างทำความสะอาดตัวเรื่อนด้วยแชมพูอ่อนๆ หรือน้ำสะอาด โดยอาจใช้แปรงสีฟันช่วยขัด บริเวณที่เป็นซอก ข้อต่อ ต่างๆ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง
2. เช็ดด้วยผ้าแห้งที่อ่อนนุ่ม
3. ใช้ไดร์เป่าลมร้อน โดยตั้งอุณหภูมิไม่สูงมากนัก เป่าไล่ความชื้นอีกครั้ง โดยบเฉพาะบริเวณที่เป็นข้อต่อต่างๆ (ใช้นาฬิกาวางบนมือ แล้วใช้ลมร้อนเป่า ถ้ารู้สึกว่ามือข้างที่วางนาฬิการ้อนให้หยุดเป่า หรือ ลดอุณหภูมิลง)
หมายเหตุ
1. กรณีที่ตัวเรือนทำด้วยพลาสติก ห้ามใช้ลมร้อนเป่าโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ตัวเรือนเสียรูป หรืออุปกรณ์ประกอบเสียหายได้
2. กรณีนาฬิกาที่ไม่มีคุณสมบัติการกันน้ำ ให้ทำความสะอาด โดยใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ แล้วเช็ด
การทำความสะอาดสายนาฬิกา
สายนาฬิกาที่เป็นโลหะ :: เพื่อยืดอายุและการรักษาสภาพที่ดูดีของสายนาฬิกาที่เป็นโลหะ ขอแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้ เนื่องจากนาฬิกาและสายนาฬิกาใส่ติดกับผิวหนังนั้น ถ้าไม่ทำความสะอาดเป็นประจำ จะทำให้เป็นที่เก็บของฝุ่นละอองและเหงื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับข้อต่อหรือช่องว่างในสายนาฬิกา ขุยและฝุ่นเมื่อมีอยู่ในสายนาฬิกา จะละลายในเหงื่อและอาจทำให้เกิดการขัดสีข้อมือและการระคายเคืองผิวหนังในบางกรณี ถ้าเหงื่อออกมากควรจะเช็ดออกจากนาฬิกาและสายนาฬิกาโดยใช้ผ้าแห้งที่นุ่ม ควรทำความสะอาดสายนาฬิกาเป็นครั้งคราวโดยการใช้แปรงสีฟันหรือน้ำสบู่อุ่นๆโดยต้องล้างสบู่ออกด้วยน้ำสะอาดภายหลังการใช้น้ำสบู่ และทำให้สายนาฬิกาแห้งอย่างหมดจด วิธีการทำความสะอาดดังกล่าวข้างต้นควรทำด้วยความระมัดระวังถ้านาฬิกาไม่ใช่แบบกันน้ำ
ขอบคุณข้อมูลจาก นาฬิกาบางกอก